วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ครูสุนทรียา

๑.ชื่อ นางสุนทรียา แก้วพิจิตร ตำแหน่ง ครู คศ.3 โรงเรียน วัดเวียงทุน ( นิลศรีวิทยา )
๒.ชื่อผลงานดีเด่น / นวัตกรรม ผลการเล่นเกมการศึกษาต่อพฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อและ
ด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัย
ความเป็นมา
เด็กปฐมวัยอยู่ในช่วงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ( Egocentric) เด็กอาจแย่งของเล่นคนอื่น
วัยนี้พฤติกรรมด้านการแบ่งปั้นและการรอคอย ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรดังนั้นเด็กวัยนี้จึงได้รับโอกาสฝึกฝนและ
เรียนรู้โดยการได้ร่วมเล่นกับผู้อื่น ฝึกฝนการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เด็กวัยที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะขาด
ความเอื้อเฟื้อและขาดระเบียบวินัยแต่ถ้าเด็กได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อน เด็กจะได้เรียนรู้การแบ่งปั้นเพื่อปรับ
ตนเองให้เข้ากับเพื่อนและเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆอีกทั้งการเล่นบางครั้งจะมีกฏเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน
ส่งผลให้เด็กได้เรียนรู้การปฏิบัติตนตามกฏเกณฑ์ง่ายๆเพื่อจะได้เล่นกับเพื่อนอย่างมีความสุข จึงเห็นได้ว่า
ถ้าเด็กมีความเอื้อเฟื้อและมีระเบียบวินัยจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่าง
มีความสุขยังเป็นการวางรากฐานเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป
โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านที่สองของเด็ก เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ทำกิจกรรมกับครูและเพื่อนที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน
ถ้าโรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นยิ่งมากยิ่งทำให้เด็กมีความสามารถในการปรับตัว
เข้ากับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นมุมต่างๆให้เด็กได้เล่นจะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้
อีกทั้งยังทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมั่นคงอบอุ่นและเป็นสุข เด็กเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มมีโอกาสตอบสนองความอยากรู้
อยากเห็นของตนมีความชื่นชมในสิ่งที่ได้พบเห็น การเล่นตามมุมเด็กจะเกิดการเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
ในการแสวงหาความรู้ต่างๆตามความพอใจและความสนใจของเด็ก เด็กจะสามารถเล่นเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้
กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ
เพื่อให้เกิดความรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน กิจกรรมเกมการศึกษาเป็นแนวการจัดกิจกรรมอย่างหนึ่งที่บรรจุไว้
ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 เป็นการใช้สื่อประกอบการจัดกิจกรรม เกมการศึกษาเป็นการเล่นที่ช่วย
พัฒนาสติปัญญามีหลักเกณฑ์ง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ การเล่นเกมการศึกษารายกลุ่ม เป็นการจัดกิจกรรม
ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน เด็กจะได้เรียนรู้พฤติกรรมด้านสังคมกับเพื่อนหลายอย่าง ที่จะได้ค้นพบด้วยตนเอง เช่น
ความร่วมมือ ความเอื้อเฟื้อ ความมีระเบียบ สืบเนื่องจากสภาพปัญหาและเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะทำการศึกษา
พฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อกับด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัยระหว่างเล่นเกมการศึกษารายกลุ่มและ
เล่นเกมการศึกษาที่ได้รับการสอนตามปกติ เพื่อเป็นข้อสนเทศในการวางแผนหรือแก้ไขปรับปรุงเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมและ
หาวิธีเล่นเกมการศึกษาที่เหมาะสมให้เป็นประโยชน์ที่สุดแก่เด็กปฐมวัยตลอดจนครูและผู้เกี่ยวข้องต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อและด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัยก่อนกับหลังการจัดกิจกรรม
ในกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษารายกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่ได้รับการสอนตามปกติ
2. เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อและด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มที่ได้รับการ
จัดกิจกรรมเกมการศึกษารายกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ
แนวคิดทฤษฏี
1. ทฤษฏีพัฒนาการทางสังคม
2. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย
2.1 พฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อ
2.2 พฤติกรรมทางสังคมด้านความมีระเบียบนัย

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
ชุดเกมการศึกษาพัฒนาทางสังคม
1. เกมจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์ 6 ชุด
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา 6 ชุด
3. เกมจับคู่ภาพเหมือน 6 ชุด
4. เกมจับคู่ภาพกับโครงร่างและภาพกับสัญลักษณ์ 6 ชุด
5. เกมภาพตัดต่อ 6 ชุด

พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ได้แก่
1. ด้านความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อน ได้แก่
1.1 การแบ่งปั้น
1.2 การให้ความร่วมมือ
1.3 การให้อภัย
1.4 การให้ความช่วยเหลือ
2. ความมีระเบียบวินัย ได้แก่
2.1 การ เก็บอุปกรณ์เข้าที่
2.2 การรู้จักรอคอยไม่แย่งสิ่งของ
2.3 การปฏิบัติตามกฎกติกา
2.4 การผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำผู้ตาม
ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดเวียงทุน อำเภอ
วัดเพลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 จำนวน 16 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดเวียงทุน อำเภอ
วัดเพลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 จำนวน 8 คน ที่ผู้ศึกษาใช้แบบพฤติกรรมทางสังคมคัดเลือกกลุ่มละ 4 คน
รวมทั้งหมด 8 คน
สื่อ / เครื่องมือที่ใช้
1. แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา 30 แผน
2. เกมการศึกษา 30 เกม
3. แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อ จำนวน 10 ข้อ
4. แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมด้านความมีระเบียบวินัย จำนวน 10 ข้อ

วิธีการดำเนินงาน / กระบวนการจัดการเรียนรู้
การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง
2. ข้าพเจ้าดำเนินการวิจัยด้วยตนเองเก็บข้อมูลพื้นฐานทุกด้านเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมด้าน
ความมีระเบียบวินัย ด้านความเอื้อเฟื้อ โดยการสังเกตพฤติกรรมทางสังคมในช่วงการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
รายกลุ่ม กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่ได้รับการสอนตามปกติโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม
ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความเอื้อเฟื้อ ที่ข้าพเจ้าได้สร้างขึ้นมา บันทึกการสังเกตโดยครูพี่เลี้ยงจำนวน 1 คน
3. ดำเนินการวิจัยโดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษารายกลุ่มกับ กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ที่ได้รับการสอนตามปกติกับกลุ่มตัวอย่าง 6 สัปดาห์ วันละ 20 นาทีโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม ด้านความมีระเบียบ
วินัย ด้านความเอื้อเฟื้อ ที่ข้าพเจ้าสร้างขึ้นมาบันทึกการสังเกต
ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีผลต่อพฤติกรรมทางสังคม
ด้านความเอื้อเฟื้อและด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัยแตกต่างกัน สามารถส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยได้
เนื่องจากเด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น และแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน รวมทั้งบทบาทของครู
ที่ต้องสอดแทรกความรู้ตามวัตถุประสงค์ในทุกขั้นตอนของกิจกรรม จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับด้านความมีระเบียบวินัย
ด้านความเอื้อเฟื้อ และปฏิบัติตนเองให้มีระเบียบวินัย มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปั้นต่อเพื่อนในกลุ่ม ผลการศึกษาจึงมีผลทำให้เด็ก
มีระเบียบวินัย มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปั้นต่อเพื่อนแตกต่างกัน ก่อนและหลังการใช้

ไม่มีความคิดเห็น: