วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ครูสุนทรียา

แบบนำเสนอผลงานที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice)
โรงเรียนวัดเวียงทุน ( นิลศรีวิทยา) เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ ๓สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๑
- - - - - - - -
๑.ชื่อ Best Practice โครงการหนูน้อยรักการออม
๒.ตอบสนองกลยุทธ์ สพฐ.ที่ ๑ คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
๒.๑. จัดกิจกรรมคุณธรรมนำความรู้เชื่อมโยงสู่การเรียนการสอน
๒.๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม
๒.๓. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายและเด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
๒.๔ ส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการออม รู้จักใช้และรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
๓. หลักการและเหตุผล / โครงการ หนูน้อยรักการออม
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี
คนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข การออมเป็นหลักคำสอนของการใช้ชีวิตอย่าง
พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยให้ยึดถือ
ปฏิบัติ การออมของเด็กปฐมวัยจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ค่าของเงิน ประโยชน์ของการ
ออมและเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตที่พอเพียงต่อไปในอนาคต
๔.แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่ใช้
๔.๑ แนวคิด ทฤษฎี และจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออม
ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบทฤษฎี และจิตวิทยาการพัฒนาการทางจริยธรรมของเพียเจท์ ( Piaget)
ทฤษฎีการเสริมแรงทางบวก การใช้เบี้ยอรรถกร ( Token Economy )
๔.๒ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับเจตคติ เจตคติกับการรักการออม
๕.ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาของ Best Practice
๕.๑.สำรวจปัญหา ความสำคัญและความจำเป็นของเด็กปฐมวัยโดยใช้ SWOT
๕.๒.จัดลำดับความสำคัญและเลือกวิธีการออมทรัพย์ของเด็กปฐมวัย
๕.๓.รวบรวมข้อมูลที่จะสนองตอบการแก้ปัญหาการรักการออมทรัพย์ของเด็กปฐมวัย
๖.ผลการดำเนินงาน
๖.๑ เด็กปฐมวัยได้รู้จักค่าของเงิน
๖.๒ เด็กปฐมวัยมีนิสัยรักการออม รู้ประโยชน์ของการออม
๖.๓ เด็กปฐมวัย ยึดเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียงในอนาคต

๗. ปัจจัยความสำเร็จ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยในด้านการสร้างทัศนคติให้เกิดความตระหนัก รัก
เคารพ เชื่อมั่น อดทน อดออม ต้องอบรมปลูกฝังด้วยวาจา ด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง
พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูผู้สอนต้องปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง และต้องอาศัยความใกล้ชิด
และกระทำสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เมื่อเด็กกระทำความดี ควรเน้นย้ำผลการกระทำให้เด็ก
ฟังควรยกย่องชมเชยให้พ่อ แม่ได้รับรู้ เด็กจะเกิดแรงจูงใจในการกระทำ การออมของเด็ก
ปฐมวัยจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ค่าของเงิน ประโยชน์ของการออมเป็นแนวปฏิบัติในการ
ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงต่อไปในอนาคต
๘. การเผยแพร่ผลงาน
โครงการหนูน้อยรักการออมประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เด็กและผู้ปกครองมีความ
พึงพอใจที่เห็นบุตรหลาน รู้จักการประหยัด เห็นคุณค่าของการออมเงิน รู้จักคิดก่อน
ตัดสินใจซื้อเด็กปฐมวัย 80 % มีเงินหยอดกระปุกออมสินทุกวันก่อนกลับบ้าน เมื่อสิ้น
ภาคเรียนเด็กมีเงินฝากคนละ 200-500 บาท โครงการนี้ได้เผยแพร่โดยการประชาสัมพันธ์
ให้กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชนได้รับทราบและนำไปเป็นแนวทางใน
การดำเนินชีวิตต่อไป
๙. การพัฒนาอย่างยั่งยืน
โครงการหนูน้อยรักการออมจะพัฒนาต่อยอดขึ้นไปถึงระดับชั้นประถมศึกษาในกิจกรรม
สหกรณ์ของสถานศึกษาและประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน ประธานกลุ่มกองทุน
หมู่บ้านเพื่อให้เด็กได้ศึกษาเรียนรู้เป็นแบบอย่างนำเงินที่เก็บออมฝากไว้เป็นทุนการศึกษา
ในอนาคต สร้างความมั่นคงในชีวิตต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: