วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

ครูสุนทรียา

๑.ชื่อ นางสุนทรียา แก้วพิจิตร ตำแหน่ง ครู คศ.3 โรงเรียน วัดเวียงทุน ( นิลศรีวิทยา )
๒.ชื่อผลงานดีเด่น / นวัตกรรม ผลการเล่นเกมการศึกษาต่อพฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อและ
ด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัย
ความเป็นมา
เด็กปฐมวัยอยู่ในช่วงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ( Egocentric) เด็กอาจแย่งของเล่นคนอื่น
วัยนี้พฤติกรรมด้านการแบ่งปั้นและการรอคอย ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรดังนั้นเด็กวัยนี้จึงได้รับโอกาสฝึกฝนและ
เรียนรู้โดยการได้ร่วมเล่นกับผู้อื่น ฝึกฝนการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เด็กวัยที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะขาด
ความเอื้อเฟื้อและขาดระเบียบวินัยแต่ถ้าเด็กได้มีโอกาสเล่นกับเพื่อน เด็กจะได้เรียนรู้การแบ่งปั้นเพื่อปรับ
ตนเองให้เข้ากับเพื่อนและเป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆอีกทั้งการเล่นบางครั้งจะมีกฏเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน
ส่งผลให้เด็กได้เรียนรู้การปฏิบัติตนตามกฏเกณฑ์ง่ายๆเพื่อจะได้เล่นกับเพื่อนอย่างมีความสุข จึงเห็นได้ว่า
ถ้าเด็กมีความเอื้อเฟื้อและมีระเบียบวินัยจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่าง
มีความสุขยังเป็นการวางรากฐานเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป
โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านที่สองของเด็ก เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ทำกิจกรรมกับครูและเพื่อนที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน
ถ้าโรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นยิ่งมากยิ่งทำให้เด็กมีความสามารถในการปรับตัว
เข้ากับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นมุมต่างๆให้เด็กได้เล่นจะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้
อีกทั้งยังทำให้เด็กเกิดความรู้สึกมั่นคงอบอุ่นและเป็นสุข เด็กเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มมีโอกาสตอบสนองความอยากรู้
อยากเห็นของตนมีความชื่นชมในสิ่งที่ได้พบเห็น การเล่นตามมุมเด็กจะเกิดการเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
ในการแสวงหาความรู้ต่างๆตามความพอใจและความสนใจของเด็ก เด็กจะสามารถเล่นเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้
กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ
เพื่อให้เกิดความรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน กิจกรรมเกมการศึกษาเป็นแนวการจัดกิจกรรมอย่างหนึ่งที่บรรจุไว้
ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 เป็นการใช้สื่อประกอบการจัดกิจกรรม เกมการศึกษาเป็นการเล่นที่ช่วย
พัฒนาสติปัญญามีหลักเกณฑ์ง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้ การเล่นเกมการศึกษารายกลุ่ม เป็นการจัดกิจกรรม
ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-5 คน เด็กจะได้เรียนรู้พฤติกรรมด้านสังคมกับเพื่อนหลายอย่าง ที่จะได้ค้นพบด้วยตนเอง เช่น
ความร่วมมือ ความเอื้อเฟื้อ ความมีระเบียบ สืบเนื่องจากสภาพปัญหาและเหตุผลดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงสนใจที่จะทำการศึกษา
พฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อกับด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัยระหว่างเล่นเกมการศึกษารายกลุ่มและ
เล่นเกมการศึกษาที่ได้รับการสอนตามปกติ เพื่อเป็นข้อสนเทศในการวางแผนหรือแก้ไขปรับปรุงเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมและ
หาวิธีเล่นเกมการศึกษาที่เหมาะสมให้เป็นประโยชน์ที่สุดแก่เด็กปฐมวัยตลอดจนครูและผู้เกี่ยวข้องต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อและด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัยก่อนกับหลังการจัดกิจกรรม
ในกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษารายกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่ได้รับการสอนตามปกติ
2. เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อและด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มที่ได้รับการ
จัดกิจกรรมเกมการศึกษารายกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติ
แนวคิดทฤษฏี
1. ทฤษฏีพัฒนาการทางสังคม
2. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย
2.1 พฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อ
2.2 พฤติกรรมทางสังคมด้านความมีระเบียบนัย

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
ชุดเกมการศึกษาพัฒนาทางสังคม
1. เกมจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์ 6 ชุด
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา 6 ชุด
3. เกมจับคู่ภาพเหมือน 6 ชุด
4. เกมจับคู่ภาพกับโครงร่างและภาพกับสัญลักษณ์ 6 ชุด
5. เกมภาพตัดต่อ 6 ชุด

พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ได้แก่
1. ด้านความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อน ได้แก่
1.1 การแบ่งปั้น
1.2 การให้ความร่วมมือ
1.3 การให้อภัย
1.4 การให้ความช่วยเหลือ
2. ความมีระเบียบวินัย ได้แก่
2.1 การ เก็บอุปกรณ์เข้าที่
2.2 การรู้จักรอคอยไม่แย่งสิ่งของ
2.3 การปฏิบัติตามกฎกติกา
2.4 การผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำผู้ตาม
ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดเวียงทุน อำเภอ
วัดเพลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 จำนวน 16 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นปฐมวัยปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดเวียงทุน อำเภอ
วัดเพลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต 1 จำนวน 8 คน ที่ผู้ศึกษาใช้แบบพฤติกรรมทางสังคมคัดเลือกกลุ่มละ 4 คน
รวมทั้งหมด 8 คน
สื่อ / เครื่องมือที่ใช้
1. แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา 30 แผน
2. เกมการศึกษา 30 เกม
3. แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมด้านความเอื้อเฟื้อ จำนวน 10 ข้อ
4. แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมด้านความมีระเบียบวินัย จำนวน 10 ข้อ

วิธีการดำเนินงาน / กระบวนการจัดการเรียนรู้
การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง
2. ข้าพเจ้าดำเนินการวิจัยด้วยตนเองเก็บข้อมูลพื้นฐานทุกด้านเกี่ยวกับพฤติกรรมทางสังคมด้าน
ความมีระเบียบวินัย ด้านความเอื้อเฟื้อ โดยการสังเกตพฤติกรรมทางสังคมในช่วงการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
รายกลุ่ม กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่ได้รับการสอนตามปกติโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม
ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความเอื้อเฟื้อ ที่ข้าพเจ้าได้สร้างขึ้นมา บันทึกการสังเกตโดยครูพี่เลี้ยงจำนวน 1 คน
3. ดำเนินการวิจัยโดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษารายกลุ่มกับ กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ที่ได้รับการสอนตามปกติกับกลุ่มตัวอย่าง 6 สัปดาห์ วันละ 20 นาทีโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม ด้านความมีระเบียบ
วินัย ด้านความเอื้อเฟื้อ ที่ข้าพเจ้าสร้างขึ้นมาบันทึกการสังเกต
ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีผลต่อพฤติกรรมทางสังคม
ด้านความเอื้อเฟื้อและด้านความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัยแตกต่างกัน สามารถส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยได้
เนื่องจากเด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม และมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น และแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน รวมทั้งบทบาทของครู
ที่ต้องสอดแทรกความรู้ตามวัตถุประสงค์ในทุกขั้นตอนของกิจกรรม จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับด้านความมีระเบียบวินัย
ด้านความเอื้อเฟื้อ และปฏิบัติตนเองให้มีระเบียบวินัย มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปั้นต่อเพื่อนในกลุ่ม ผลการศึกษาจึงมีผลทำให้เด็ก
มีระเบียบวินัย มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปั้นต่อเพื่อนแตกต่างกัน ก่อนและหลังการใช้

ครูสุนทรียา

๑.ชื่อ Best Practice โครงการ วารสารสัมพันธ์สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
๒.ตอบสนองกลยุทธ์ สพฐ.ที่ ๕ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่นในการจัดการศึกษา
๒.๑. จัดทำวารสารเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงเรียนกับบ้าน
๒.๒. สนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา
๒.๓. ผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้องพึงพอใจผลการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา
๓. หลักการและเหตุผล / โครงการ วารสารสัมพันธ์สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีความสำคัญยิ่งที่จะส่งเสริม สนับสนุน
และผลักดันให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน การสร้างความสัมพันธ์
ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับบ้านจะช่วยกันแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กนักเรียนและ
แจ้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วารสารสัมพันธ์เป็นเครื่องมือสื่อสารให้ประชาชน
ได้รับทราบกระบวนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และเป็นสื่อกลางระหว่างครูกับ
ผู้ปกครองให้รับทราบข่าวสารการเปลี่ยนแปลงของ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ
การศึกษาของบุตรหลาน ดังนั้นทางโรงเรียนวัดเวียงทุนจึงจัดทำวารสารสัมพันธ์เดือนละ 1 ฉบับ
๔.วัตถุประสงค์
๔.๑ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
๔.๒ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลที่ถูกต้องให้ชุมชนได้ตรวจสอบการบริหารงานของสถานศึกษา
๔.๓ เพื่อแจ้งปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้ผู้ปกครองได้รับทราบ
๔.๔ เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานของครูร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน
๕.ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาของ Best Practice
๕.๑.สำรวจปัญหา ความสำคัญและความจำเป็นของการสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
๕.๒ ประชุมชี้แจงให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับทราบ
๕.๓ จัดลำดับความสำคัญและเลือกวิธีการประชาสัมพันธ์ที่สะดวก ครอบคลุมและทั่วถึงชุมชนทุกคน
๕.๔รวบรวมข้อมูลที่จะสนองตอบการแก้ปัญหา ข้อมูลประชาสัมพันธ์ ข้อมูลที่ต้อง ตรวจสอบและถ่วงดุลจากชุมชน
๕.๕ ดำเนินการ และ ตรวจสอบความถูกต้องของวารสารก่อนแจกจ่ายประชาสัมพันธ์
๕.๖ ประเมินผลการดำเนินงานโดยการสัมภาษณ์ /สอบถาม / สังเกต
๕.๗ สรุปผลการดำเนินงาน / ปัญหาอุปสรรค / และหาแนวทางแก้ไข
๖.ผลการดำเนินงาน
๖.๑ โรงเรียนและชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีให้ความร่วมมือในการเข้าร่วม
กิจกรรมกับสถานศึกษาร่วมกันแก้ปัญหาของนักเรียนให้สัมฤทธิ์ผลทุกระดับชั้น
๖.๒ ชุมชน / ผู้ปกครองได้รับข่าวสารจากโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
๖.๓ การบริหารของสถานศึกษาได้รับการตรวจสอบและถ่วงดุลจาก คณะกรรมการสถานศึกษา /
ชุมชน / ผู้ปกครองนักเรียนอย่างโปร่งใส
๖.๔ ครู /ผู้ปกครองมีเครือข่ายในการทำงานช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างทั่วถึง
๗. ปัจจัยความสำเร็จ
คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการบริหารจัดการสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ให้เกิดประสิทธิภาพ
ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหาร ตรวจสอบและถ่วงดุลการทำงานทุกด้าน การ
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบกระบวนการจัดการศึกษา การจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนที่จะทำให้คนในท้องถิ่นเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสถานศึกษา
ช่วยยกระดับผู้เรียนให้ได้มาตรฐานตามกระทรวงศึกษาธิการกำหนด ข้อมูลข่าวสารจะสร้าง
ความรู้ความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนจะช่วยลดช่องว่างระหว่างครูกับ
ผู้ปกครองในการแก้ปัญหานักเรียน การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของสถานศึกษา
มีความสำคัญยิ่งที่บ่งบอกถึงความชัดเจนในการทำงานของผู้บริหาร ครูและบุคลากร
ในสถานศึกษา
๘. การเผยแพร่ผลงาน
โครงการวารสารสัมพันธ์สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย
เด็กและผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการบริหาร จัดการของสถานศึกษา มีความพอใจ
ในผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบุตรหลาน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการ
เรียนการสอนกับทางโรงเรียนเป็นอย่างดี เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา
ตรวจสอบและถ่วงดุลการดำเนินงานให้ได้มาตรฐาน ทางโรงเรียนจะเผยแพร่การ
ประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นและหลากหลายวิธี เพื่อให้ครอบคลุมและทั่วถึงทุกหน่วยงาน
สถานที่ และชุมชนใกล้เคียง

๙. การพัฒนาอย่างยั่งยืน
โครงการวารสารสัมพันธ์สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน พัฒนาต่อยอดขึ้นไปถึงการทำ
เว็บไซด์ของสถานศึกษาเพื่อเป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์การทำงานให้หน่วยงานอื่นๆ
ได้รับทราบ

ครูสุนทรียา

แบบนำเสนอผลงานที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice)
โรงเรียนวัดเวียงทุน ( นิลศรีวิทยา) เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ ๓สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต ๑
- - - - - - - -
๑.ชื่อ Best Practice โครงการหนูน้อยรักการออม
๒.ตอบสนองกลยุทธ์ สพฐ.ที่ ๑ คุณธรรมนำความรู้ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
๒.๑. จัดกิจกรรมคุณธรรมนำความรู้เชื่อมโยงสู่การเรียนการสอน
๒.๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม
๒.๓. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายและเด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
๒.๔ ส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการออม รู้จักใช้และรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
๓. หลักการและเหตุผล / โครงการ หนูน้อยรักการออม
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี
คนเก่ง และอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข การออมเป็นหลักคำสอนของการใช้ชีวิตอย่าง
พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยให้ยึดถือ
ปฏิบัติ การออมของเด็กปฐมวัยจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ค่าของเงิน ประโยชน์ของการ
ออมและเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตที่พอเพียงต่อไปในอนาคต
๔.แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่ใช้
๔.๑ แนวคิด ทฤษฎี และจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออม
ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบทฤษฎี และจิตวิทยาการพัฒนาการทางจริยธรรมของเพียเจท์ ( Piaget)
ทฤษฎีการเสริมแรงทางบวก การใช้เบี้ยอรรถกร ( Token Economy )
๔.๒ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับเจตคติ เจตคติกับการรักการออม
๕.ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาของ Best Practice
๕.๑.สำรวจปัญหา ความสำคัญและความจำเป็นของเด็กปฐมวัยโดยใช้ SWOT
๕.๒.จัดลำดับความสำคัญและเลือกวิธีการออมทรัพย์ของเด็กปฐมวัย
๕.๓.รวบรวมข้อมูลที่จะสนองตอบการแก้ปัญหาการรักการออมทรัพย์ของเด็กปฐมวัย
๖.ผลการดำเนินงาน
๖.๑ เด็กปฐมวัยได้รู้จักค่าของเงิน
๖.๒ เด็กปฐมวัยมีนิสัยรักการออม รู้ประโยชน์ของการออม
๖.๓ เด็กปฐมวัย ยึดเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียงในอนาคต

๗. ปัจจัยความสำเร็จ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยในด้านการสร้างทัศนคติให้เกิดความตระหนัก รัก
เคารพ เชื่อมั่น อดทน อดออม ต้องอบรมปลูกฝังด้วยวาจา ด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง
พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูผู้สอนต้องปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง และต้องอาศัยความใกล้ชิด
และกระทำสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เมื่อเด็กกระทำความดี ควรเน้นย้ำผลการกระทำให้เด็ก
ฟังควรยกย่องชมเชยให้พ่อ แม่ได้รับรู้ เด็กจะเกิดแรงจูงใจในการกระทำ การออมของเด็ก
ปฐมวัยจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ค่าของเงิน ประโยชน์ของการออมเป็นแนวปฏิบัติในการ
ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงต่อไปในอนาคต
๘. การเผยแพร่ผลงาน
โครงการหนูน้อยรักการออมประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เด็กและผู้ปกครองมีความ
พึงพอใจที่เห็นบุตรหลาน รู้จักการประหยัด เห็นคุณค่าของการออมเงิน รู้จักคิดก่อน
ตัดสินใจซื้อเด็กปฐมวัย 80 % มีเงินหยอดกระปุกออมสินทุกวันก่อนกลับบ้าน เมื่อสิ้น
ภาคเรียนเด็กมีเงินฝากคนละ 200-500 บาท โครงการนี้ได้เผยแพร่โดยการประชาสัมพันธ์
ให้กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชนได้รับทราบและนำไปเป็นแนวทางใน
การดำเนินชีวิตต่อไป
๙. การพัฒนาอย่างยั่งยืน
โครงการหนูน้อยรักการออมจะพัฒนาต่อยอดขึ้นไปถึงระดับชั้นประถมศึกษาในกิจกรรม
สหกรณ์ของสถานศึกษาและประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชน ประธานกลุ่มกองทุน
หมู่บ้านเพื่อให้เด็กได้ศึกษาเรียนรู้เป็นแบบอย่างนำเงินที่เก็บออมฝากไว้เป็นทุนการศึกษา
ในอนาคต สร้างความมั่นคงในชีวิตต่อไป